ประเภทของซองบรรจุภัณฑ์

ประเภทของซองบรรจุภัณฑ์

ซองบรรจุภัณฑ์ หรือ ถุงบรรจุภัณฑ์ คือ เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับป้องกันสินค้า ไม่ให้เกิดความเสียหายในระหว่างทำการจัดส่ง ก่อนส่งมอบถึงมือลูกค้า ซึ่งปัจจุบันเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอุตสาหกรรมทุกประเภท และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้บรรจุภัณฑ์ยังสามารถออกแบบให้มีภาพกราฟิกที่สามารถสื่อไปถึงลูกค้าได้โดยตรง ทำให้บรรจุภัณฑ์เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญกับธุรกิจในอุตสาหกรรมทั่วไป ซึ่งประเภทของซองบรรจุภัณฑ์มีดังต่อไปนี้

ประเภทของซองบรรจุภัณฑ์

  • ซองพับข้าง มีหลากหลายลักษณะให้เลือกใช้ตามความต้องการ ซึ่งซองพับข้างแบบมีรอยซีลขอบด้านข้างทั้ง 4 ข้าง ประเภทซีล 4 ด้านนี้ ลักษณะของซองจะทำให้สินค้าดูพรีเมี่ยมมากขึ้น ทั้งนี้ซองพับข้าง ยังสามารถติดซิปล็อคได้อีกด้วย
  • ซองก้นตั้ง เป็นซองที่นิยมมากที่สุด ส่วนใหญ่ใช้บรรจุอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งซองก้นตั้ง สามารถเลือกวัสดุได้หลากหลายในการผลิต เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทั้งนี้ซองก้นตั้ง เวลาวางโชว์สินค้าจะมีรูปทรงที่สวยงาม แข็งแรง ไม่โอนเอน หรือห่อตัวได้ง่าย เหมาะกับการตั้งโชว์สินค้า โดยซองประเภทนี้ สามารถเลือกเป็นแบบซองก้นตั้งปกติ หรือซองก้นตั้งติดซิปได้
  • ซองซีล 3 ด้าน เหมาะสำหรับการบรรจุสินค้าชนิดผง หรือสินค้าที่บรรจุจำนวนไม่มาก ซึ่งจะนิยมบรรจุจำพวกเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ และยังสามารถทำหูเจาะสำหรับแขวนได้ สำหรับการบรรจุเครื่องสำอาง ครีม โลชั่น นิยมทำเป็นซองตัวอย่าง ซึ่งสามารถออกแบบให้ดูสวยงาม น่ารัก น่าใช้ มุมซองยังสามารถเลือกที่จะทำไดคัทเป็นทรงมน หรือไม่ทำก็ได้
  • ซองซีลกลาง หรือซองซีลกลางด้านหลัง จะนิยมเรียกอีกชื่อว่า ซองทรงหมอน จะนิยมบรรจุสินค้าจำพวกขนมขบเคี้ยว ลูกอม อีกทั้งยังสามารถใช้บรรจุสินค้าอุปโภคบริโภคได้เช่นกัน เช่น บรรจุสบู่ก้อน ผงชา กาแฟ อาหารเสริม เป็นต้น ทั้งนี้ซองซีลกลาง ยังไม่สามารถติดซิปล็อคได้ ต้องใช้เป็นการซีลปิดธรรมดาเท่านั้น
  • ซองตัดตามรูป นิยมนำมาบรรจุสินค้าที่มีปริมาณบรรจุจำนวนน้อย ๆ หรือเป็นตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทดลองใช้ก็ได้ เช่น ครีมตัวอย่าง โดยสามารถพิมพ์ลายตามอาร์ตเวิร์ค แล้วผลิตโมลด์ตัดตามรูปทรงที่ต้องการได้ และยังสามารถกำหนดรอยซีลให้เป็นรูปร่างตามต้องการได้อีกด้วย
  • ซองติดจุก ซองประเภทนี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ทั้งในสินค้าประเภทเครื่องดื่มพร้อมดื่ม หรือสินค้าอุปโภค เช่น น้ำยาทำความสะอาดประเภทต่าง ๆ อีกทั้งยังนิยมนำมาบรรจุสินค้าเครื่องสำอางประเภทครีม โลชั่น โดยข้อดีของซองติดจุก คือ เมื่อใช้ไม่หมดสามารถปิดจุกเก็บไว้ต่อได้ อีกทั้งยังง่ายต่อการขนส่งอีกด้วย
  • (อ้างอิง :plusprinting.bookplus)
    ให้การบรรจุสินค้าเป็นเรื่องง่าย ด้วยเครื่องบรรจุสินค้าจาก TU PACK เลือกดูได้เลยที่ >> www.tupack.co.th

การพันฟิล์มยืดต่อ 1 พาเลท เราต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

เคยรู้มั้ยว่าการพันฟิล์มยืดต่อ 1 พาเลท เราต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

ตารางแสดงข้อมูลต่างๆของฟิล์ม และขนาดพาเลท

ชนิดของฟิล์ม LLDPE
ความหนาฟิล์ม 20 ไมครอน
ความกว้างฟิล์ม มาตรฐาน 50 ซม (ยืดแล้วจะเหลือประมาณ 40 ซม)
ความยาวฟิล์ม มาตรฐาน 1800 ซม.
ความยาวฟิล์มที่ใช้งานจริง 4500 ซม (คิดด้วยอัตราการยืด 2.5 เท่า)
ราคา/ม้วน ประมาณ 1600 บาท
ความยาวที่ใข้ในการพันพาเลท1รอบ
(จากสูตรคำนวณ 2*(ความกว้าง+ความยาว))
ตัวอย่างเช่น ความกว้าง 1.5, ความยาว 1.2 1.5+1.5+1.2+1.2 = 5.4 เมตร

ฟิล์มพันพาเลท

ตารางแสดงการคำนวณต้นทุนฟิล์มยืดต่อการพัน 1 พาเลท

จำนวนรอบของฟิล์มยืดในการพันพาเลทสินค้าขึ้น-ลง 1 รอบ
(รวมฟิล์มทับซ้อนแล้ว)
ฟิล์มที่ยืดแล้วม้วนพันพาเลทได้ต้นทุนต่อ 1 พาเลท(บาท)
พันขึ้น 5 รอบ พันลง 5 รอบ
คิดความยาวได้ 5.4 x 10 = 54 เมตร
4500/54 = 83.33 พาเลท 1600/83.33 = 19.20 บาท
พันขึ้น 10 รอบ พันลง 10 รอบ
คิดความยาวได้ 5.4 x 20 = 108 เมตร
4500/108 = 41.66 พาเลท 1600/41.66 = 38.40 บาท
พันขึ้น 15 รอบ พันลง 15 รอบ
คิดความยาวได้ 5.4 x 30 = 162 เมตร
4500/162 = 27.77 พาเลท 1600/27.77 = 57.61 บาท

ฟิล์มยืด สำหรับเครื่องพันพาเลท

*** ราคาต้นทุนคิดตามต้นทุนฟิล์ม ณ วันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ.2558

บรรจุภัณฑ์: แนวโน้มของวัสดุใช้น้อยลงแต่ทำได้มากขึ้น

บรรจุภัณฑ์: แนวโน้มของวัสดุใช้น้อยลงแต่ทำได้มากขึ้น

บทความนี้อยู่ในหมวด “วัสดุล้ำยุค” โดย Material ConneXion® Bangkok

การสร้างนวัตกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของบรรจุภัณฑ์ และการใช้เท่าที่จำเป็นจะส่งผลดีกับสิ่งแวดล้อม ความสำเร็จทางธุรกิจ และความพยายามในการสร้างตราสินค้าของผลิตภัณฑ์

การทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ (ตอนที่2)

3 การทดสอบวัสดุ

3.1 การทดสอบกระดาษ เปลวอะลูมิเนียม และฟิล์ม

    1. น้ำหนักมาตรฐาน ความหนา และความหนาแน่น

วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นแผ่นๆ มักจะซื้อขายกันด้วยน้ำหนักมาตรฐานหรือ Basis Weight ตัวอย่างเช่น กระดาษที่เรียกว่า 100 กรัม ความจริงเป็นการเรียกจาก น้ำหนักมาตรฐานเป็นกรัมต่อตารางเมตร แต่เรียกง่ายๆ ว่า กรัม บางครั้งอาจจะได้ยินคำว่า gsm ซึ่งย่อมาจาก "gram per square-meter" หรือกรัมต่อตารางเมตรนั่นเอง

การทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ (ตอนที่ 1)

การทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารหรือ การใช้บรรจุภัณฑ์ต่างก็ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้งานได้ดี ปัญหาคือบรรจุภัณฑ์ที่ดีนั้นใช้มาตรการใดในการวัด ถ้าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อยู่นั้นสามารถสั่งมาใช้งานได้ตามแต่ผู้แปรรูปหรือผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์จะผลิตให้ และใช้บรรจุภัณฑ์จากผู้ผลิตรายเดียวกันเป็นปีๆ โดยที่สินค้าไม่เคยบอบช้ำเสียหาย ภายใต้ปรากฏการณ์เช่นนี้ผู้ประกอบการต้องเชื่อว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อยู่นั้นดีแน่ๆ เพราะสินค้าไม่เคยเสียหายเลย คำถามที่อาจเกิดขึ้นต่อมาว่า บรรจุภัณฑ์ที่ใช้นั้นอาจดีเกินไปหรือไม่ ถ้ายอมรับว่าดีเกินไป อาจเปิดโอกาสที่จะลดคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ลงเพื่อประหยัดต้นทุน ปัญหาก็คือ จะลดคุณภาพอะไรของบรรจุภัณฑ์และจะลดลงเท่าไรโดยที่สินค้าขนส่งจะยังคงไม่แตกหักเสียหาย

Online Catalog

Online Catalog TU.Pack

Special Promotion

โปรโมชั่น เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์

Article | Knowledge

บทความ สาระน่ารู้

Contact Us

ติดต่อสอบถาม

Contact Form

สอบถามเครื่องแพ็ค เครื่องบรรจุ

APPLY JOB

ร่วมงานกับทียูแพ็ค