การหีบห่อแบบแผ่น

การหีบห่อแบบแผ่น

การหีบห่อแบบแผ่นเป็นรูปแบบของการหีบห่อสินค้าอีกประเภทหนึ่งที่เรามักเห็นกันอยู่ทั่วๆ ไปตามชั้นวางขายในห้างสรรพสินค้า โดยวางอยู่บนชั้น บ้างหรือแขวนไว้บ้างตามแต่ประเภทของสินค้า เหตุที่เรียกว่าการหีบห่อแบบแผ่นนั้นเนื่องจากมีเพียงแผ่นพลาสติกกับแผ่นกระดาษแข็งก็ สามารถหุ้มห่อ สินค้าได้แล้ว การบรรจุแบบนี้มีลักษณะคือ

  • การหีบห่อแบบบลิสเตอร์ (blister packaging)
  • การหีบห่อแบบสกิน (skin packaging)

การหีบห่อแบบบลิสเตอร์

  ด้านบนจะประกอบด้วยแผ่นพลาสติกที่ขึ้นรูปตามรูปร่างของสินค้า มีแผ่นกระดาษแข็งรองด้านล่างโดยมีสารเคลือบให้ผนึกติดกันได้ด้วยความร้อน และมีหมึกพิมพ์
  • แผ่นพลาสติก ส่วนใหญ่ใช้พลาสติกใสขึ้นรูปด้วยความร้อนและผนึกติดบนกระดาษแข็งได้ดี ส่วนคุณสมบัติอื่นๆ เช่น ความทนต่อการตกกระแทก ความต้านทานไขมันและการทำต่ออุณหภูมิต่ำๆ ตลอดจนความหนาจะขึ้นกับ ชนิดของสินค้าที่ นิยมใช้พลาสติกประเภทเซลลูโลส สไตรีนและไวนิล
  • กระดาษแข็ง เป็นโครงสร้างที่สำคัญ จะต้องเลือกใช้เข้ากับขนาด รูปร่างและน้ำหนักของสินค้า ความหนาของกระดาษที่ นิยมใช้คือ 0.460.16 มิลลิเมตร รวมทั้งต้องมีผิวหน้าเหมาะสมกับการพิมพ์ในระบบที่ต้องการด้วย
  • สารเคลือบ จะเป็นตัวเชื่อม ระหว่างพลาสติกที่ขึ้นรูปกับกระดาษแข็งที่พิมพ์แล้ว ช่วยป้องกันไม่ให้ตัวพิมพ์ลบเลือน และให้ความมันวาว สารเคลือบมีหลายชนิดขึ้นกับพลาสติกที่ใช้
  • หมึกพิมพ์ ใช้พิมพ์ข้อความและรูปภาพลงบนกระดาษแข็ง ต้องเข้ากันได้ดีกับสารเคลือบ และต้องทนอุณหภูมิสูงๆ ที่ใช้ในการติดผนึก ทนต่อการเสียดสี และปลอดภัยต่อสินค้าที่จะใช้บรรจุ 

การบรรจุแบบบลิสเตอร์ ต้องใช้เครื่องบรรจุโดยเฉพาะ มีหลักการคือ เมื่อได้พลาสติกขึ้นรูปแล้ว นำสินค้าวางไว้ภายในวาง กระดาษแข็ง คว่ำหน้าตรงตำแหน่งที่ต้องการ หลังจากนั้น จึงผนึกแผ่นพลาสติกให้ติดกับกระดาษโดยใช้ความดันและความร้อนที่เหมาะสม เครื่องบรรจุ บลิสเตอร์อัตโนมัติ มักเป็นแบบหมุนหรือสายพาน และอาจเชื่อมต่อด้วยเครื่องขึ้นรูป เครื่องตัด เครื่องป้อนบลิสเตอร์และกระดาษ ทั้งนี้ขึ้นกับ ขนาดของเครื่อง สินค้าที่นิยมบรรจุ ได้แก่ เครื่องสำอาง ของเล่น อุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็ก ฯลฯ

การหีบห่อแบบสกิน

เป็นการหีบห่อแบบแผ่นอีกรูปแบบหนึ่ง มีวัสดุที่ใช้คล้ายกับแบบบลิสเตอร์ แต่แตกต่างจากแบบบลิสเตอร์คือ ตัวสินค้าจะเป็นแม่พิมพ์ให้กับแผ่นพลาสติก และทำการบรรจุด้วยวิธีสุญญากาศ ทำให้แผ่นพลาสติกแนบติดกับสินค้า การบรรจุแบบนี้ประกอบด้วย

แผ่นพลาสติก ที่นิยมใช้มี 3 ชนิดคือ พีอี พีวีซี และไอโอโนเมอร์
สารเคลือบ ต้องใช้ร่วมกับหมึกพิมพ์ ต้องไม่มีสารประกอบ ที่เป็นอันตรายต่อตัวสินค้า เอื้ออำนวยต่อการผนึกด้วยความร้อน

blister

 

กระดาษแข็ง การเลือกใช้ต้องพิจารณาความหนา ความเหนียว และความแข็งแรง เพื่อช่วยพยุงสินค้า มักใช้กระดาษที่มีรูพรุนมาก เพื่อให้แนบติดกับแผ่นพลาสติกไม่ควรเคลือบแป้งเพราะจะเป็นปัญหาต่อ การดูดด้วยสุญญากาศในขณะทำการผนึก บางครั้งการใช้หมึกพิมพ์และสารเคลือบบางชนิดจะลดความเป็น รูพรุนของกระดาษ จึงต้องเจาะรูเล็กๆ ไว้บนกระดาษแข็งด้วย


  วิธีการบรรจุแบบสกิน ต้องใช้เครื่องบรรจุซึ่งมีหลายแบบ มีทั้งการใช้มือช่วยและแบบอัตโนมัติ เมื่อเลือกชนิดของวัสดุได้แล้ว ก็นำสินค้าวาง ลงบนกระดาษแข็ง มีแผ่นพลาสติกอยู่ด้านบน เมื่อแผ่นพลาสติกได้รับความร้อน ก็จะติดลงบนสินค้า ขณะเดียวกับที่มีลมดูด เป็นสุญญากาศ ทำให้แผ่นพลาสติกผนึกแน่นกับกระดาษแข็ง ซึ่งสิ่งสำคัญสำหรับการบรรจุแบบนี้คือ ต้องควบคุมการให้ความร้อน แก่พลาสติกและระยะเวลา ในการผนึกให้เหมาะสม สินค้าที่มักใช้การบรรจุแบบสกินได้แก่ ตะเกียง เครื่องพิมพ์ดีด แก้วเจียระไน กระเบื้อง ฯลฯ

  สินค้าที่บรรจุแบบแผ่นจะมองเห็นสินค้าและคำอธิบายการใช้ได้อย่างชัดเจน ป้องกันสินค้าได้ดี ประหยัดค่าใช้จ่ายวัสดุและเนื้อที่ในการวางขาย อีกทั้งช่วยส่งเสริมการขายได้เป็นอย่างดี

รีทอร์ต เพาช์

Ex-blister



  รีทอร์ต เพาช์ (retort pouch) เป็นชื่อของบรรจุภัณฑ์ประเภทหนึ่งที่สามารถบรรจุผลิตภัณฑ์แล้วนำไปฆ่าเชื้อด้วยความร้อน ด้วยเหตุนี้จึงสามารถรักษา คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไว้ได้นานเป็นปี เทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทดแทนการใช้กระป๋องโลหะโดยมหาวิทยาลัย แห่ง หนึ่งในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1940 สำหรับนำมาใช้ในการบรรจุเสบียงแจกแก่ทหารในขณะออกรบต่อมาการใช้ รีทอร์ต เพาช์ ได้แพร่หลายยิ่งขึ้นในอุตสาหกรรมอาหารและยา ในหลายๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และประเทศในยุโรป ผลิตภัณฑ์อาหาร ที่นิยมในบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ เช่น อาหารเนื้อ ปลา ซุป น้ำผลไม้ ขนมอบ ฯลฯ

รูปแบบของรีทอร์ต เพาช์ ที่นิยมที่สุดคือ เป็นถุง ประกอบด้วยวัสดุอ่อนตัว ซึ่งทำจากฟิล์มพลาสติกหลายชิ้น มักมีการเสริมคุณสมบัติให้สามารถสกัดกั้นไอน้ำและก๊าซได้ดี ด้วยการใช้ร่วมกับอะลูมิเนียมฟอยล์ คุณสมบัติที่ สำคัญอื่นๆ ของรีทอร์ต เพาช์ ได้แก่ ต้องทนอุณหภูมิช่วงต่ำกว่า 0 ํซ. และสูงจนถึง 121 ํซ. ได้ ไม่ทำปฏิกิริยา กับอาหาร สามารถรักษากลิ่นและรสชาติของอาหารไว้ได้ตลอดระยะเวลา การจำหน่าย รวมทั้งต้องมีความ แข็งแรงไม่แตกหรือฉีกขาดง่ายด้วย

หลักการโดยทั่วไปของรีทอร์ต เพาช์ คือ เมื่อผลิตออกมาเป็นถุงตามโครงสร้างที่ต้องการ จะทำการบรรจุอาหารลงในถุง แล้วดึงอากาศที่เหลือ ออกก่อนปิดผนึกปากถุงด้วยความร้อน หลังจากนั้นจึงทำการฆ่าเชื้อภายใต้ความดันระหว่าง 25–30 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ถ้าใช้ความดันมากกว่านี้ จะมีผลทำให้รอยปิดผนึกของถุงแตกได้ การฆ่าเชื้อดังกล่าวมีการใช้กันอยู่ 3 วิธีคือ ใช้น้ำ – อากาศ ไอน้ำ – อากาศ และรังสีไมโครเวฟ ขนาดบรรจุของรีทอร์ต เพาช์ ที่ออกสู่ตลาดในปัจจุบันมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ขนาดเล็กสำหรับการขายปลีก มีความจุ 4, 8 และ 16 ออนซ์ ส่วนขนาดใหญ่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมมีความจุ 32 ออนซ์ สำหรับประเทศไทย แม้ว่าการใช้รีทอร์ต เพาช์ จะยังไม่แพร่หลายมากนักในขณะนี้ เนื่องจากต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง แต่ก็มีแนวโน้มที่ดีในอนาคตเพื่อสนองตอบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย ซึ่งนับวันจะ ก้าวหน้ายิ่งขึ้น การแข่งขันทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะในด้านการบรรจุภัณฑ์จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารของ ไทยสามารถ แข่งขันในตลาดโลกได้

ที่มา : http://www.mew6.com

Online Catalog

Online Catalog TU.Pack

Special Promotion

โปรโมชั่น เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์

Article | Knowledge

บทความ สาระน่ารู้

Contact Us

ติดต่อสอบถาม

Contact Form

สอบถามเครื่องแพ็ค เครื่องบรรจุ

APPLY JOB

ร่วมงานกับทียูแพ็ค