ใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย สร้างระยะห่าง ด้วยใจ ห่างไกลโควิด
การใช้ชีวิตอย่างปลอดโรคโควิดโอมิครอน
"ขอให้ทุกท่าน
ระมัดระวัง ดูแลตัวเอง
และปฎิบัติตัวตามมาตรการความปลอดภัยทางสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด"
ตัวอย่างโรคระบาดที่อุบัติบนโลกทุก 100 ปีที่ผ่านมา
1. โควิด 19
โควิด 19 วันนี้ (21 ธันวาคม 2564) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความระบุว่า โควิด-19 โอไมครอน ติดต่อง่าย ระบาดเร็ว ดื้อวัคซีน โอไมครอนระบาดได้เร็ว เพราะติดต่อง่าย ประมาณไวรัสลำคอสูง แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มอย่างมากในทุกประเทศ พบแล้วมากกว่า 90 ประเทศ ทางยุโรปและอเมริกายอดผู้ป่วยสูงถึงกับต้องล็อกดาวน์กันเลย การตรวจพบในผู้เดินทางเข้าประเทศไทย ถ้าตรวจพบเชื้อโควิดจะเป็นโอไมครอนสูงขึ้นเรื่อยๆ อัตราการตรวจพบโอไมครอนต่อเดลตาอยู่ที่ 1:3 แล้ว แนวโน้มที่จะเกิดการระบาดในประเทศไทยมีสูงมาก เพราะการตรวจ RT-PCR ถ้าอยู่ในระยะฟักตัวจะตรวจไม่พบ เมื่อเข้าประเทศแล้วจึงจะมีอาการ และจำนวนมากมีอาการน้อย หรือไม่มีอาการ แต่แพร่เชื้อได้ ขณะนี้ต้องการนักคณิตศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ คำนวณผลได้ผลเสียกับการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ถ้าระบาดในประเทศไทยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การท่องเที่ยวภายในประเทศได้รับผลกระทบ และผลกระทบอี่นๆ อีกตามมากับรายได้ที่จะได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ สิ่งไหนจะได้มากกว่า ชีวิตที่จะต้องดำเนินต่อไปจะต้องอยู่ในภาวะสมดุล ระหว่างภาวะเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชน และระบบสาธารณสุขประเทศต้องอยู่ได้
โควิด 19 เสียชีวิตไปแล้ว 5.2 ล้านคน
2. ไข้หวัดสเปน
ไข้หวัดสเปนการเพิกเฉยต่อโรคระบาดและจัดขบวนพาเหรด บทเรียนจากไข้หวัดใหญ่สเปนที่คร่า 50 ล้านชีวิตมากกว่าจำนวนคนตายในสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมกัน
ไข้หวัดสเปนเสียชีวิตไปแล้ว 50 ล้านคน
3. กาฬโรค หรือ โรคห่า
กาฬโรคตาย 150 ล้านคน มีสถิติที่น่าสังเกตุบ่งชี้ว่า ทุกๆ 100 ปี จะมีโรคระบาดใหญ่เกิดขึ้น 1 ครั้งเหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น และแต่ละครั้งมนุษยชาติผ่านมันมาได้อย่างไรพงศาวดารหรือบันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับประเทศชาติเป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่สามารถบ่งบอกร่องรอยของโรคระบาดในอดีตได้ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ตั้งเเต่ยังเป็นสยามประเทศเคยพบโศกนาฏกรรมจากโรคระบาดใหญ่หลายต่อหลายครั้งและผ่านพ้นมาได้ทุกครั้งจนกระทั่งวันนี้ปี 2263 ประวัติศาสตร์โลกบันทึกความสูญเสียของประชากรกว่า 125 ล้านคนจาก "black death" หรือ "ความตายสีดำ" ที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ "กาฬโรค" หรือ "โรคห่า" พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต บันทึกความรุนแรงของ"กาฬโรค"หรือ"โรคห่า" ในครั้งนั้นว่า น้ำลายพิษของมังกรจากหนองน้ำ "ฆ่าคนจนเมืองร้าง" สร้างความปั่นป่วนในราชสำนักก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งด้านเศรษฐกิจการเมืองและสังคมโรคนี้อยู่คู่กับสยามประเทศเป็นเวลากว่า 170 ปี แม้จะไม่คงอยู่ตลอดไป แต่มันก็ไม่ได้หายไปไหนและกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 ราวปี พ.ศ.2437 อาณาเขตการแพร่ระบาด เริ่มที่เมืองท่าของจีนและฮ่องกงเคลื่อนตัวไปยังแอฟริกา อินเดีย ยุโรป สิงคโปร์ ไทยและออสเตรเลียในครั้งนั้นสยามต้องหาทางป้องกันโรคระบาดที่มาทางเรือด้วยการก่อตั้ง "ด่านตรวจโรคเกาะไผ่" ขึ้นเพื่อควบคุมโรคติดต่อแห่งแรกของไทย
4. ไข้ทรพิษ
ไข้ทรพิษระบาดในโลก ระหว่างปี ค.ศ 1952–1980 ทำให้อาณาจักรอินคาติดโรคจากชาวสเปนที่เข้าไปล่าอณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ จนสูญสิ้นเผ่าพันธุ์
ทั้งนี้ขอให้ทุกท่านปฏิบัติตนตามมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี เว้นระยะห่าง เลี่ยงสถานที่แออัด และเข้ารับวัคซีนเพื่อป้องกันความรุนแรงของโรคโดยเร็วที่สุด ด้วยความห่วงใยจาก บริษัท ทียูแพ็ค จำกัด
ผู้ค้นคว้า และ เรียบเรียง
คุณบุญสุข สังข์รัศมี
คุณสุวรรณ จันเทวี